อาเซียน (ASEAN)
เป็นการรวมตัวกันของ 10 ประเทศ ในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผู้นำอาเซียนได้ร่วมลงนาม
ในปฎิญญาว่าด้วย ความร่วมมืออาเซียนเห็นชอบ ให้จัดตั้ง
ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) คือ เป็นองค์กรระหว่างประเทศ
ระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีจุดเริ่มต้นโดยประเทศไทย
มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ได้ร่วมกันจัดตั้งสมาคมอาสา
(Association of South East Asia) เมื่อเดือน ก.ค.2504
เพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
แต่ดำเนินการไปได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง
เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่างประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย
จนเมื่อมีการฟื้นฟูสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่างสองประเทศ
จึงได้มีการแสวงหาหนทางความร่วมมือกันอีกครั้ง
และสำเร็จภายในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) แต่ต่อมาได้ตกลงร่นระยะเวลา
จัดตั้งให้เสร็จในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) ในปีนั้นเองจะมีการเปิดกว้างให้ประชาชนในแต่ละประเทศสามารถเข้าไปทำงานในประเทศ
อื่นๆ ในประชาคมอาเซียนได้อย่างเสรีเสมือนดังเป็นประเทศเดียวกัน
ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการประกอบอาชีพและการมีงานทำของคนไทย
ควรทำความเข้าใจในเรื่องนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกคน |
|
|
|
ความเป็นมาของอาเซียน
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(Association of Southeast Asian Nations หรือ ASEAN)
ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration)
หรือ ปฏิญญาอาเซียน (ASEAN Declaration) เมื่อวันที่
8 สิงหาคม 2510 โดยมีประเทศสมาชิก 5 ประเทศ ประกอบด้วย
อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย
เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม
ของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่อมามีประเทศสมาชิกเพิ่มเติม
ได้แก่ บรูไนดารุส-ซาลาม เวียดนาม ลาว เมียนมาร์
และกัมพูชา ตามลำดับ จึงทำให้ปัจจุบันอาเซียน มีสมาชิก
10 ประเทศ |
|
“อาเซียน”
สู่การเป็นประชาคมอาเซียน ในปี 2558
ปัจจุบัน
บริบททางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก
ทำให้อาเซียนต้องเผชิญ สิ่งท้าทายใหม่ๆ อาทิ โรคระบาด
การก่อการร้าย ยาเสพติด การค้ามนุษย์ สิ่งแวดล้อม
ภัยพิบัติ อีกทั้ง ยังมีความจำเป็นต้องรวมตัวกันเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองและขีดความสามารถทางการแข่งขันกับประเทศในภูมิภาคใกล้เคียง
และในเวทีระหว่างประเทศ ผู้นำอาเซียนจึงเห็นพ้องกันว่า
อาเซียนควรจะร่วมมือกันให้เหนียวแน่น เข้มแข็ง และมั่นคงยิ่งขึ้น
จึงได้ประกาศ “ปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือในอาเซียน
ฉบับที่ 2” (Declaration of ASEAN Concord II) ซึ่งกำหนดให้มีการสร้างประชาคมอาเซียนที่ประกอบไปด้วย
3 เสาหลัก ได้แก่
- ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
(ASEAN Political and Security Community - APSC)
มุ่งให้ประเทศกลุ่มสมาชิกอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
แก้ไขปัญหาระหว่างกันโดยสันติวิธี มีเสถียรภาพและความมั่นคงรอบด้าน
เพื่อความมั่นคงปลอดภัยของเหล่าประชาชน
- ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
(ASEAN Economic Community - AEC) มุ่งเน้นให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ
และความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน เพื่อให้ประเทศสมาชิกสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆได้โดย
- ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
(ASEAN Socio - Cultural Community - ASCC) มุ่งหวังให้ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี
มีความมั่นคงทางสังคม มีการพัฒนาในทุกๆ ด้าน และมีสังคมแบบเอื้ออาร
โดยจะมีแผนงานสร้างความร่วมมือ 6 ด้าน คือ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม
ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน
การลดช่องว่างทางการพัฒนา
ซึ่งต่อมาผู้นำอาเซียนได้ตกลงให้มีการจัดตั้งประชาคมอาเซียนให้แล้วเสร็จเร็วขึ้นมาเป็นภายในปี
2558 |
|
ประชาคมอาเซียน
คือ
ประชาคมอาเซียน
(ASEAN Community) คือ การรวมตัวของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนให้เป็นชุมชนที่มีความแข็งแกร่ง
สามารถสร้างโอกาสและรับมือส่งท้าท้าย ทั้งด้านการเมืองความมั่นคง
เศรษฐกิจ และภัยคุกคามรูปแบบใหม่ โดยสมาชิกในชุมชนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี
สามารถประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น
และสมาชิก ในชุมชนมีความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน |
|
จุดประสงค์หลักของอาเซียน
ปฏิญญากรุงเทพฯ
ได้ระบุวัตถุประสงค์สำคัญ 7 ประการของการจัดตั้งอาเซียน
ได้แก่
1. ส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ
สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และการบริหาร
2. ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค
3. เสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจพัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาค
4. ส่งเสริมให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี
5. ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
ในรูปของการฝึกอบรมและการวิจัย และส่งเสริมการศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
6. เพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม
การขยายการค้า ตลอดจนการปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม
7. เสริมสร้างความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอก
องค์การ ความร่วมมือแห่งภูมิภาคอื่นๆ และองค์การระหว่างประเทศ |
|
ภาษาอาเซียน
ภาษาทางการที่ใช้ในการติดต่อประสานงานระหว่างประเทศสมาชิก
คือ ภาษาอังกฤษ |
|
คำขวัญของอาเซียน
"หนึ่งวิสัยทัศน์
หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม”
(One Vision,
One Identity, One Community) |
|
อัตลักษณ์อาเซียน
อาเซียนจะต้องส่งเสริมอัตลักษณ์ร่วมกันของตนและความรู้สึกเป็นเจ้าของในหมู่ประชาชนของตน
เพื่อให้บรรลุชะตา เป้าหมาย และคุณค่าร่วมกันของอาเซียน |
|
|
|
สัญลักษณ์อาเซียน
คือ
ดวงตราอาเซียนเป็น
รูปมัดรวงข้าว
สีเหลืองบนพื้นวงกลม
สีแดงล้อมรอบด้วยวงกลมสีขาว
และสีน้ำเงิน
รวงข้าวสีเหลือง
10 ต้น หมายถึง ความใฝ่ฝันของบรรดาสมาชิกในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง
10 ประเทศ ให้มีอาเซียนที่ผูกพันกันอย่างมีมิตรภาพและเป็นหนึ่งเดียว
วงกลม
เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงเอกภาพของอาเซียน
ตัวอักษรคำว่า
asean
สีน้ำเงิน อยู่ใต้ภาพรวงข้าว แสดงถึงความมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกันเพื่อความมั่นคง
สันติภพ เอกภาพ และความก้าวหน้าของประเทศสมาชิกอาเซียน
สีเหลือง
หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง
สีแดง
หมายถึง ความกล้าหาญและการมีพลวัติ
สีขาว
หมายถึง ความบริสุทธิ์
สีน้ำเงิน
หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง |
|
ธงอาเซียน
ธงอาเซียนเป็นธงพื้นสีน้ำเงิน
มีดวงตราอาเซียนอยู่ตรงกลาง แสดงถึงเสถียรภาพ สันติภาพ
ความสามัคคี และพลวัตของอาเซียน
สีของธงประกอบด้วย สีน้ำเงิน สีแดง สีขาว และสีเหลือง
ซึ่งเป็นสีหลักในธงชาติของบรรดาประเทศสมาชิกของอาเซียนทั้งหมด |
|
วันอาเซียน
ให้วันที่
8 สิงหาคม ของทุกปี เป็นวันอาเซียน |
|
เพลงประจำอาเซียน
(ASEAN Anthem)
คือ
เพลง ASEAN WAY |
|
กฎบัตรอาเซียน
กฎบัตรอาเซียน
กำหนดให้อาเซียนและประเทศสมาชิกปฏิบัติตามหลักการดังต่อไปนี้
1. เคารพเอกราช
อธิปไตย ความเสมอภาค บูรณภาพแห่งดินแดน และอัตลักษณ์แห่งชาติของรัฐสมาชิกอาเซียนทั้งปวง
2. ผูกพันและรับผิดชอบร่วมกันในการเพิ่มพูนสันติภาพ
ความมั่นคง และความมั่งคั่งของภูมิภาค
3. ไม่รุกรานหรือข่มขู่ว่าจะใช้กำลังหรือการกระทำอื่นใดในลักษณะที่ขัดต่อกฎหมายระหว่างประเทศ
4. ระงับข้อพิพาทโดยสันติ
5. ไม่แทรกแซงกิจการภายในของรัฐสมาชิกอาเซียน
6. เคารพสิทธิของรัฐสมาชิกทุกรัฐในการธำรงประชาชาติของตนโดยปราศจากการแทรกแซง
การบ่อนทำลาย และการบังคับจากภายนอก
7. ปรึกษาหารือที่เพิ่มพูนขึ้นในเรื่องที่มีผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อผลประโยชน์ร่วมกันของอาเซียน
8. ยึดมั่นต่อหลักนิติธรรม
ธรรมาภิบาล หลักการประชาธิปไตยและรัฐบาลตามรัฐธรรมนูญ
9. เคารพเสรีภาพพื้นฐาน
การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และการส่งเสริมความยุติธรรมทางสังคม
10.
ยึดถือกฎบัตรสหประชาชาติและกฎหมายระหว่างประเทศ
รวมถึงกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ ที่ รัฐสมาชิกอาเซียนยอมรับ
11.
ละเว้นจากการมีส่วนร่วมในการคุกคามอธิปไตย บูรณภาพแห่งดินแดนหรือเสถียรภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจของรัฐสมาชิกอาเซียน
12.
เคารพในวัฒนธรรม ภาษา และศาสนาที่แตกต่างของประชาชนอาเซียน
13.
มีส่วนร่วมกับอาเซียนในการสร้างความสัมพันธ์กับภายนอกทั้งในด้านการเมือง
เศรษฐกิจ และสังคม โดยไม่ปิดกั้นและไม่เลือกปฏิบัติ
14.
ยึดมั่นในกฎการค้าพหุภาคีและระบอบของอาเซียน |
|
ประเทศไทยจะได้ประโยชน์อะไรจาก
AEC (ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน)
ประชาคมอาเซียนที่จะถือกำเนิดในปี
2558 นั้น คนไทยจะได้ประโยชน์อะไร แน่นอนเราคงอยากทราบ
แต่ในชั้นนี้ขอจำกัดเฉพาะทางเศรษฐกิจก่อน
ประการแรก ไทยจะ “มีหน้ามีตาและฐานะ”
เด่นขึ้นประชาคมอาเซียนจะทำให้เศรษฐกิจ “ของเรา”
มีมูลค่ารวมกัน 1.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีขนาดใหญ่อันดับ
9 ของโลก ยังประโยชน์แก่คนไทยทุกคนที่จะได้ยืนอย่างสง่างาม
“ยิ้มสยาม” จะคมชัดขึ้น
ประการที่สอง
การค้าระหว่างไทยกับประเทศอาเซียนจะคล่องและขยายตัวมากขึ้น
กำแพงภาษีจะลดลงจนเกือบจะหมดไป เพราะ 10 ตลาดกลายเป็นตลาดเดียว
ผู้ผลิตจะส่งสินค้าไปขายในตลาดนี้และขยับขยายธุรกิจของตนง่ายขึ้น
ขณะเดียวกันผู้บริโภคก็จะมีทางเลือกมากขึ้นราคาสินค้าจะถูกลง
ประการที่สาม
ตลาดของเราจะใหญ่ขึ้น แทนที่จะเป็นตลาดของคน 67
ล้านคน ก็จะกลายเป็นตลาดของคน 590 ล้านคน ซึ่งจะทำให้ไทยกลายเป็นแหล่งลงทุนที่น่าสนใจ
เพราะสินค้าที่ผลิตในประเทศไทยสามารถส่งออกไปยังอีกเก้าประเทศได้ราวกับส่งไปขายต่างจังหวัด
ซึ่งก็จะช่วยให้เราสามารถแข่งขันกับจีนและอินเดียในการดึงดูดการลงทุนได้มากขึ้น
ประการที่สี่ ความเป็นประชาคมจะทำให้มีการพัฒนาเครือข่ายการสื่อสารคมนาคมระหว่างกันเพื่อประโยชน์ด้านการค้าและการลงทุน
แต่ก็ยังผลพลอยได้ในแง่การไปมาหาสู่กัน ซึ่งก็จะช่วยให้คนในอาเซียนมีปฏิสัมพันธ์กัน
รู้จักกัน และสนิทแน่นแฟ้นกันมากขึ้น เป็นผลดีต่อสันติสุข
ความเข้าใจอันดีและความร่วมมือกันโดยรวม นับเป็นผลทางสร้างสรรค์ในหลายมิติด้วยกัน
ประการที่ห้า
โดยที่ ไทยตั้งอยู่ในจุดกึ่งกลางบนภาคพื้นแผ่นดินใหญ่อาเซียน
ประเทศไทยย่อมได้รับประโยชน์จากปริมาณการคมนาคมขนส่งที่จะเพิ่มขึ้นในอาเซียนและระหว่างอาเซียนกับจีน
(และอินเดีย) มากยิ่งกว่าประเทศอื่นๆ บริษัทด้านขนส่ง
คลังสินค้า ปั๊มน้ำมัน ฯลฯ จะได้รับประโยชน์อย่างชัดเจน
จริงอยู่ ประชาคมอาเซียนจะยังผลทั้งด้านบวกและลบต่อประเทศไทย
ขึ้นอยู่กับพวกเราคนไทยจะเตรียมตัวอย่างไร แต่ผลทางบวกนั้นจะชัดเจน
เป็นรูปธรรมและจับต้องได้
ที่มา : มติชน |